ข้อมูลและคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสอีโบลา

ข้อมูลและคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสอีโบลา

วันที่นำเข้าข้อมูล 31 ก.ค. 2557

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565

| 1,378 view

ตามที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยเฉพาะในประเทศแถบทวีปแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน โดยมีผู้ติดเชื้อ 1,201 ราย และผู้เสียชีวิต 672 ราย (ณ วันที่ 27 ก.ค. 2557) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ขอเรียนข้อมูลให้คนไทยในอียิปต์ ซูดาน เอธิโอเปียและจิบูตี ทราบดังนี้

1. ข้อมูลเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

            - สามารถติดต่อโดยการสัมผัสทางเลือด หรือสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย หรือของใช้ของผู้ป่วย หรือศพของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วยและตาย ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการส่งผ่านเชื้อทางอากาศ

            - มีอาหารไข้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสียและมีผื่นขึ้นในรายที่มีอาการรุนแรงจะพบมีเลือดออก

            - ระยะฟักตัวของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา อยู่ระหว่าง 2-21 วัน

            - ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

2. คำแนะนำ                                          

            - หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย และล้างมือบ่อยๆ

            - หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย

            - หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่าแปลกๆ มาประกอบอาหาร

            - หากมีอาการเริ่มป่วย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนตามตัว ให้รีบพบแพทย์ทันที

หากท่านใดมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค +66 2590 3159 หรือที่ http://beid.ddc.moph.go.th  

ข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏตามเอกสารแนบ

เอกสารประกอบ

news-20140731-225035-567244.pdf
news-20140731-224443-873780.pdf