วันที่นำเข้าข้อมูล 12 มิ.ย. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ประเทศมหาอำนาจเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในซูดานในปี 2422 และอังกฤษได้เข้ามาปกครองซูดานในปี 2425 โดยมอบหมายให้รัฐบาล Khedival เข้าปกครองซูดาน แต่ด้วยการบริหารงานที่ผิดพลาด ตลอดจนการคอร์รัปชั่นทำให้ชาติตะวันตกเริ่มต่อต้านระบบการค้าทาส และทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในเวลาต่อมา ด้วยเหตุนี้การเสื่อมถอยของระบบการปกครองเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสร้างกอง กำลัง Mahdist นำโดยนาย Muhammad Ahmak ibn Abd Allah โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิวัติต่อต้านรัฐบาลและขับไล่ชาวตะวันตกออกจาก พื้นที่ และในปี 2428 นาย Mahdi ได้ขับไล่ชาวอิยิปต์และอังกฤษได้สำเร็จและก่อตั้งระบอบ Mahdiyah (Madihst regime) ซึ่งสนับสนุนให้ประชาชนนับถือศาสสนาอิสลาะและยินดีใช้หลักกฎหมายอิสลามในการ ปกครองประเทศ หลังจากที่ปกครองซูดานได้ไม่นานนาย Mehdi ล้มป่วยและเสียชีวิตลง
หลังจากนั้นไม่นาน อังกฤษตัดสินใจเข้ายึดครองซูดานอีกครั้ง และ สนับสนุนให้เกิดกองกำลัง Anglo-Egyptian นำโดย Herbert Kitchener เพื่อทำลายอำนาจของระบอบ Mahdist ในปี 2442 ซูดานได้ลงนามในความตกลง Anglo-Egyptian ยินยอมให้อังกฤษเข้ายึดครองดินแดน และให้อียิปต์เป็นผู้คัดเลือกผู้นำชาวซูดาน อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจต้องได้รับความเห็นชอบจากอังกฤษ
ชาวซูดานไม่ต้องการอยู่ภายใต้อาณานิคมอังกฤษและพยายามเรียกร้องเอกราช ทำให้ในปี 2467 อังกฤษจึงมีนโยบายแบ่งแยกการปกครองซูดานใต้ออกจากซูดานเหนือ และ หลังจากเกิดการปฏิวัติในอียิปต์ อียิปต์และฝรั่งเศสจึงยินยอมให้ซูดานเป็นเอกราชในวันที่ 1 มกราคม 2499 ภายใต้การใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ผ่านการให้สัตยาบันในปี 2497 การปกครองภายหลังจากได้รับเอกราช รัฐบาลปกครองโดยระบบทหารและประชาธิปไตย และมีผู้นำทางการเมืองมาจากภาคเหนือของประเทศซึ่งเป็นชาวมุสลิม และเป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างซูดานเหนือและซูดานใต้กว่า 17 ปี เนื่องจากชาวซูดานใต้ไม่ต้องการอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองโดยชาวมุสลิมทาง ซูดานเหนือ
ความขัดแย้งแระหว่างซูดานเหนือและซูดานใต้ นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2499 ซูดานตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมืองมาโดยตลอด สงครามกลางเมืองช่วงแรกสิ้นสุดลงเมื่อปี 2515 ถัดมาอีก 11 ปี สงครามกลางเมืองครั้งที่สองก็เริ่มขึ้นใหม่ในปี 2526 เนื่องจากรัฐบาลซูดานภายใต้การนำของประธานาธิบดี Gaafar Nimeiry ประกาศใช้กฎหมายอิสลาม (Sharia Law) เพื่อบริหารประเทศรวมทั้งซูดานตอนใต้ ทำให้ชาวซูดานตอนใต้ที่ส่วนใหญ่เป็นนับถือศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกองกำลังต่อต้าน เรียกว่า Sudan People's Liberation Movement (SPLM) นำโดยนาย John Garang และปฏิเสธที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลนาย Nimeiry และทำสงครามต่อต้านรัฐบาลมาเป็นเวลายาวนานกว่าสองทศวรรษ ส่งผลให้เกิดผู้พลัดถิ่นกว่า 4 ล้านคน และเสียชีวิตอีก 2 ล้านคน จนในที่สุดเมื่อเดือนมกราคม 2548 ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุความตกลงสันติภาพแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Peace Agreement: CPA)[1] ระหว่างกัน ฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ตกลงให้มีการตั้งโครงสร้างการปกครองที่ทั้งสองฝ่ายมี ส่วนร่วม เช่น ให้ผู้นำของ SPLM เป็นรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง จัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Congress Party (NCP) ของรัฐบาลและกลุ่ม SPLM ภายใต้ชื่อ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (Government of National Unity: GNU) แบ่งรายได้จากการส่งออกน้ำมันระหว่างฝ่ายเหนือและใต้ในอัตราส่วนร้อยละ 50:50 และให้ฝ่ายใต้มีอำนาจปกครองตนเอง (autonomy) เป็นเวลา 6 ปี ก่อนจะให้ประชาชนลงประชามติเลือกอนาคตของตนเองในปี 2554
ความขัดแย้งในดินแดนดาร์ฟูร์ ในปี 2546 ความขัดแย้งในดินแดนดาร์ฟูร์ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของซูดานได้ปะทุขึ้น เนื่องจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาลซูดาน โดยได้โจมตีสถานที่ราชการต่าง ๆ โดยกลุ่มต่อต้านนี้ประกอบไปด้วย 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่ม Sudan Liberation Army (SLA) และกลุ่ม Justice and Equality Movement (JEM) รัฐบาลได้ตอบโต้โดยส่งกองทหารเข้าไปโจมตีกลุ่มต่อต้านดังกล่าว และเหตุการณ์ความขัดแย้งทวีความตึงเครียดมากขึ้นเมื่อกองกำลังติดอาวุธ Janjaweed ซึ่งเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบในบริเวณดินแดนดาร์ฟูร์และฝั่งตะวันออกของชาด ได้เข้าร่วมโจมตีกลุ่มต่อต้านอื่นๆ ในดินแดนดาร์ฟูร์ รวมทั้งเข้าไปโจมตีหมู่บ้าน สังหารชาวซูดาน กระทำชำเราผู้หญิงและลักทรัพย์ การประทะกันระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลกับรัฐบาลซูดานตลอดช่วงที่ผ่านมาทำให้ มีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 300,000 คน โดยส่วนมากเกิดจากการขาดอาหารและการเจ็บป่วย และอีกกว่า 2.7 ล้านคนที่พลัดที่อยู่อาศัย
ในช่วงกลางปี 2547 สหประชาชาติ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปต่างเรียกร้องให้ซูดานพยายามระงับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในดา ร์ฟูร์ และรัฐบาลซูดานได้ให้คำมั่นสัญญาแก่สหประชาชาติว่าจะแก้ไขปัญหาความขัดแยง แต่สถานการณ์ต่างๆ กลับทวีความรุนแรงขึ้น สหประชาชาติจึงส่งคณะเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความรุนแรงของ สถานการณ์ และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council: UNSC) รับรองข้อมติ UNSC ที่ 1564 (2006) มอบหมายให้กองกำลังสหภาพแอฟริกาที่รับผิดชอบภารกิจสหภาพแอฟริกาในซูดาน (African Union Mission in Sudan: AMIS) เข้าไปดูแลความมั่นคงและรักษาความปลอดภัยในดินแดนดาร์ฟูร์ แต่ภารกิจดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นและขยายตัวไปยังพรมแดนระหว่าง ดาร์ฟูร์และชาด ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาดและซูดานเลวร้ายลง เพราะต่างฝ่ายเชื่อว่ารัฐบาลของฝ่ายตรงข้ามให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในชาติของ ตน จนเกิดการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2549 นอกจากนี้ ความรุนแรงได้เพิ่มความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อกลุ่ม Lord's Resistance Army (LRA) ที่ก่อความไม่สงบในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเข้าร่วมโจมตีกลุ่ม SPLA ในขณะที่กลุ่มต่อต้าน LRA ในยูกันดาและรัฐบาลคองโกได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารกับ SPLA
จากสถานการณ์ที่เลวร้ายลงส่งผลให้ที่ประชุม UNSC พิจารณารับรองข้อมติ UNSC ที่ 1769 (2007) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2550 จัดตั้งภารกิจรักษาสันติภาพผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (AU/UN Hybrid Operation in Darfur: UNAMID) เพื่อรักษาความสงบในดาร์ฟูร์ ดูแลปกป้องพลเรือน ชาวดาร์ฟูร์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่สหประชาชาติให้อยู่ในความปลอดภัย การเข้าวางกำลังของภารกิจ UNAMID ทำให้สถานการณ์ในดาร์ฟูร์ทรงตัว แต่การโจมตีกลุ่มต่าง ๆ เกิดเป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นการปะทะกันระหว่างกองกำลังของรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้าน การโจมตีและปล้นยานพาหนะและทรัพย์สินขององค์การให้ความช่วยเหลือ ทางมนุษยธรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความพยายามในการเจรจาสันติภาพระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มกบฏ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ลิเบียพยายามจัดการเจรจาสันติภาพที่เมือง Sirte ในลิเบีย แต่ประสบความล้มเหลว เนื่องจากกลุ่มกบฏต่างๆ ไม่ยอมรับลิเบียซึ่งถูกมองว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลของ ประธานาธิบดี Omar Hassan Ahmed al-Bashir และระหว่างวันที่ 11-14 กุมภาพันธ์ 2552 นาย Khalil Ibrahim ผู้นำ JEM กับ นาย Nafie Ali Nafie ที่ปรึกษาคนสนิทของนาย Bashir ได้พบหารือกัน ณ กรุงโดฮา เพื่อเจรจาหาทางยุติความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ และทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพว่าด้วย การยุติการใช้ความรุนแรงอย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมากลุ่ม JEM กล่าวหารัฐบาลซูดานว่าไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงและทั้งสองฝ่ายหันกลับมาปะทะกัน โดยในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่ม JEM เริ่มการสู้รบเพื่อแย่งยึดพื้นที่ในดาร์ฟูร์ตะวันตกกับกองทัพของรัฐบาล ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีการผลักดันการเจรจาสันติภาพกันอีกครั้ง
บทบาทของประธานาธิบดี Omar Hasan Ahmadal- Bashir ในปี 2532 Lt. Gen Omar Hassan Ahmed al-Bashir ซึ่งเป็นผู้นำทหารกลุ่ม Islamist ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากนาย Nimeiry และจัดตั้งแนวร่วมอิสลามมิกแห่งชาติ (National Islamic Front) โดยให้การสนับสนุนกลุ่มอิสลามมิกหัวรุนแรงในแอลจีเรียและการรุกรานคูเวตโดย อิรัก ทำให้กรุง Khartoum ถูกจับตามองว่าเป็นฐานกำลังทหารของกลุ่มอิสลามิกหัวรุนแรงและผู้ก่อการ ร้ายอย่าง Osama Bin Laden's al Qaida ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแหล่งให้ที่หลบภัยแลกกับการให้หารสนับสนุนทางการเงินกับ รัฐบาล ในปี 2539 สหประชาชาติได้ทำการคว่ำบาตรซูดานในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบสังหาร นาย Mubarak ประธานาธิบดีของอียิปต์
ปัจจุบันนาย Bashir ยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบันของซูดานและรัฐบาลของนาย Bashir กำลังเผชิญหน้ากับความมั่นคงทางการเมือง เนื่องจากปัญหาในดินแดนดาร์ฟูร์ส่งผลกระทบต่อ ซูดานทั้งประเทศ นอกจากนี้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างซูดานเหนือและซูดานใต้ ยังส่งผลต่อการจัดการทรัพพยากรน้ำมันที่เป็นรายได้หลักของประเทศ
นโยบายปัจจุบันของรัฐบาลนาย Omar al-Bashir เน้นประชานิยมในภาคเหนือ ซึ่งเป็นฐานเสียงของนาย Bashir โดยทางการจะดำเนินการให้ทุนสนับสนุน และตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญๆแก่หัวหน้าพรรคการเมืองที่สำคัญๆ ทั้งนี้นโยบายของรัฐบาลยังเน้นไปที่การให้ผลประโยชนืแก่กลุ่มทางธุรกิจ กองกำลังทหารและด้านความมั่นคงเป็นหลัก
จากความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ส่งผลให้นาย Bashir ถูกคณะผู้พิพากษาศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) พิจารณาออกหมายจับพิพากษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 โดยมีความผิดตามคำฟ้องจำนวน 7 ข้อหา ในความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงคราม และการกระทำอันเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (war crimes and crimes against humanity)
การประกาศออกหมายจับนี้สร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาลซูดานและประชาชนที่สนับ สนุนนาย Bashir และเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 รัฐบาลซูดานได้ตอบโต้โดยการขับไล่เจ้าหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศที่ให้ ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม จำนวน 13 องค์กร ออกจากซูดาน และประกาศเป้าหมายจะขับไล่องค์กรพัฒนาเอกชนที่เหลืออีก 73 หน่วยงานออกจากซูดานภายใน 1 ปี ทางด้านสหภาพแอฟริกา (African Union) สันนิบาตอาหรับ (The Arab League) และองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference: OIC) รวมทั้ง NAM ต่างไม่เห็นด้วยกับการออกหมายจับนี้ (แม้ว่าจะมีบางประเทศในกลุ่ม NAM ออกมาไม่เห็นด้วยกับท่าทีดังกล่าว โดยเฉพาะบอตสวานา)เวลาทำการ: วันอาทิตย์ - วันพฤหัสบดี 09.00 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)